วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงการฝนหลวง


ความเป็นมา
         โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้
          การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑-๒ กรกฎาคม ๒๕๑๒ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน ๑ ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
วัตถุประสงค์
          โครงการฝนหลวง เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ ๒๔๙๕ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาด แคลนน้ำ อุปโภค บริโภค และการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมา ได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกา ก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการ พระราชดำริ "ฝนหลวง" ต่อไป
          สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ไม่สามารถขยายขอบเขตการให้บริการฝนหลวง แก่ประชาชนและเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง และเพียงพอกับความต้องการใช้ประโยชน์ได้ เช่น ในฤดูแล้งปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคใน ๘ จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จว.นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด กาฬสินธ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และชัยภูมิ อย่างรุนแรง ได้ทราบถึงพระเนตร พระกรรณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๐ จึงได้มีกระแสพระราชดำรัสกับผู้บัญชาการทหารบก ให้หาลู่ทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดโครงการน้ำพระราชหฤทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียวขึ้น
          การทำฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า จะต้องให้เครื่องบิน ที่มีอัตราการ บรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ และสภาพของทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้น ปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพ ในปริมาณที่เหมาะสมกล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้น ที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ จะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง อุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอ ก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วยสูตรร้อน เพื่อใช้กระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศสูตรเย็น ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆ ให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้ กระตุ้นกลไก ระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
รายละเอียดโครงการ
          การทำฝนหลวงนี้มีขั้นตอน ยุ่งยากหลายประการ จึงต้องใช้บุคลากรหลายฝ่ายร่วมมือกัน จึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ต้องมีหลายหน่วยงานเข้าร่วมกัน สร้างสรรค์โครงการนี้ ให้เป็นฝันที่เป้นจริงของพี่น้องชาวอีสานในส่วนของฝนหลวงพิเศษ
โครงการฝนหลวงพิเศษ หากสามารถช่วยเหลือพี่น้องชาวอีสานจากภาวะแห้งแล้ง ถึงแม้จะมีการสร้างเขื่อนหรือ อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กในบางส่วนของภูมิภาค แต่ก็ยังไม่ เพียงพอที่จะเก็บกักน้ำสำรับอุปโภค บริโภคและใช้ในการเกษตร โครงการนี้จึงสามารถ บรรเท่าความเดือดร้อนได้ เพราะสามารถที่จะเข้าไปปฏิบัติ ภารกิจในจุดต่างๆ ซึ่งเกิด ภาวะแห้งแล้งได้ แม้ฝนที่ตกในบางครั้ง อาจจะผิดเป้าหมายไปบ้าง เนื่องจาก ข้อผิดพลาดของสภาพลมฟ้าอากาศ หรือจากการคำนวน แต่ก็เป็น เพียงส่วนน้อย เมื่อเทียบกับผลสำเร็จซึ่งนับได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ
          จากที่กล่าวมาในข้างต้น สามารถพิสูจน์ได้ว่า กองทัพเรือไม่ได้มีเพียงหน้าที่ในการ ปกป้องน่านน้ำไทยเท่านั้น แต่ยังได้เข้าช่วยเหลือราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ในหลาย โครงการที่ร่วมมือกับภาครัฐอื่นๆ เช่น โครงการดับไฟป่าที่ จว.เชียงใหม่ สามารถรักษา พื้นที่ป่าให้พ้นจากความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งที่เพื่อรับใช้เบื้องพระยุคลบาท ในการช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ท่าน ให้อยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ความรับผิดชอบของของทัพเรือที่มีต่อโครงการฝนหลวง
          กองทัพเรือได้ร่วมเข้าโครงการน้ำพระทัยจากในหลวงในส่วนของ ฝนหลวงพิเศษ มาตั้งแต่เริ่มต้น โดยผู้บัญชาการทหารเรือ มีคำสั่งให้ดำเนินการดัดแปลง บ.C-47 จำนวน ๒ ลำ เพื่อใช้ในการโปรยสารเสมีและทำการทดลองในช่วงแรก ตั้งแต่ ๑๕ เม.ย.-๓๐ ต.ค.พ.ศ.๒๕๓๐ รวม ๒๐๐ วัน ปรากฎว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ และได้รับหน้าที่รับผิดชอบทำฝนหลวง ในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยส่ง บ. C-47 ๑ ลำ ร่วมกับกรมตำรวจ ซึ่งส่ง บ.แบบปอร์ตเตอร์เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓ ลำ มีศูนย์ปฏิบัติการอยู่ที่สนามบินขอนแก่น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นหน้าที่รับผิดชอบของกองทัพอากาศ ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ บ.C-47 ได้เลิกปฏิบัตภารกิจ เนื่องจากมีอายุการใช้งานมานาน และมีปัญหาด้านการซ่อมบำรุง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิต เลิกสายการผลิตอะไหล่ กองการบินทหารเรือจึงได้จัด บ.ธก.๒ (N-24A) สังกัดฝูงบิน ๒๐๑ กองบิน ๒ ทดแทน โดยเริ่มปฏิบัติภารกิจตั้งแต่ ๑๖ มี.ค.๓๕ ต่อมาในฤดูแล้งปีเดียวกันเกิด ภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ในระดับต่ำมาก เพื่อให้ภาวะวิกฤตนี้หมดสิ้นไป กองทัพเรือจึงได้เข้าร่วมแก้ไขปัญหานี้โดยส่ง บ.ธก.๒ อีก ๑ ลำเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจที่ จว.พิษณุโลก ตั้งแต่ ๑๖ ก.ค.๓๕
ที่ตั้งโครงการ
          กองการบินทหารเรือ ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง 

ขั้นตอนการทำฝนหลวง

ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"

เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการในขั้นตอนนี้มุ่งใช้สารเคมีกระตุ้นให้มวลอากาศลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำหรือความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทค่า critical relative humidity ต่ำ) เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวลอากาศ (เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มก่อตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลมหรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (main cloud core) ในบริเวณปฏิบัติการ สำหรับใช้เป็นศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"

เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมากในการปฏิบัติการ เพราะจะต้องเพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์การทำฝนควบคู่ไปพร้อมกันเพื่อตัดสินใจโปรยสารเคมีชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุลกับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย

ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี"

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ต้องอาศัยประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน

เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง[แก้]

  1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ในการตรวจวัดและศึกษาสภาพอากาศประกอบการวางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
    1. เครื่องวัดลมชั้นบน (pilot balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็วลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
    2. เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) เป็นเครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทยุซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่าง ๆ
    3. เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและการเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
    4. เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความเร็วและทิศทางลม เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
  2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่องบดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและแบบผง ถังและกรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น
  3. เครื่องมือสื่อสาร ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบนเครื่องบินกับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐานปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐานปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่ายร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรมไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องโทรพิมพ์ เป็นต้น
  4. เครื่องมือทางวิชาการอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้องส่องทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ ฯลฯ
  5. สถานีเรดาร์ฝนหลวง หรือ เรดาร์ดอปเปลอร์ (Doppler radar) ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น เรดาร์ดอปเปลอร์จัดเป็นเครื่องมือที่มีมูลค่าสูงสุด เรดาร์นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงสาธิต เครื่องมือชนิดนี้ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Microvax 3400) ควบคุมสั่งการ เก็บบันทึก รวบรวมข้อมูล สามารถนำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ในรูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่านโพรเซสเซอร์ (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทปบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดยจอภาพ สถานที่ตั้งเรดาร์ดอปเปลอร์นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
อ้างอิง
http://www.เรารักพระเจ้าอยู่หัว.com
https://th.wikipedia.org/wiki/ฝนหลาง

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559



รวมเพลงเศร้า

เพลง ปรายรุ้ง

https://www.youtube.com/watch?v=Ea6w84bFYdM

 เพลง ผิดที่ฉัน

https://www.youtube.com/watch?v=sKtlebMC_YU&list=PL6584F305FAA1BCFB

เพลง ปลิว

https://www.youtube.com/watch?v=c91bNchSC5Q

เพลง ที่จริงก็เจ็บ

https://www.youtube.com/watch?v=Y9K-sje001E&spfreload=10

เพลง คนแพ้ที่ไม่มีน้ำตา

https://www.youtube.com/watch?v=D8WmW2in2gc

เพลง ไม่เจ้บอยางฉันใครจะเข้าใจ

https://www.youtube.com/watch?v=PMjsvkThqio

เพลง ฉันก้รักของฉัน

https://www.youtube.com/watch?v=BeKddqvs_gA

เพลง ถ้าไม่ฟังจะถามทำไม

https://www.youtube.com/watch?v=wtG8O4vBcqE

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของผลไม้

ผลไม้





ผลไม้ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: หมากไม้) หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว ตัวอย่างผลไม้ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย มะม่วง ทุเรียน รวมถึง มะเขือเทศ ที่สามารถจัดได้ว่าเป็นทั้งผักและผลไม้

ประโยชน์ของผลไม้

  • มะละกอ ลำต้นจะมี ยาง ช่วยกัดแผล รักษาตาปลา หูด ได้ ส่วนผลที่สุกก็มีวิตามินเอสูง ซึ่งจะบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี ยังมีวิตามินซี และแคลเซี่ยมป้องกันโรคกระดูกผุอีกด้วย
  • มังคุด ที่เปลือกของมังคุดจะมีสาร tannin ซึ่งจะช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
  • สับปะรด สามารถรักษาที่เป็นหนองได้ วิธีการรักษาคือนำเอาผลที่สดๆ มาคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมา ชโลมแผลที่เป็นหนอง เอนไซม์จะช่วยย่อยกัดเนื้อเยื่อ และหนองให้หลุดออกทำให้แผลที่เป็นหนองหายได้ ถ้าหากนำน้ำสับปะรด ที่คั้นแล้วประมาณหนึ่งแก้ว ไปผสมกับน้ำสุกอีกหนึ่งแก้วเติมเกลืออีกเล็กน้อย แล้วดื่มก็จะสามารถใช้แก้ท้องผูกได้ด้วย
  • แอปเปิ้ล มีสารสำคัญ คือ บีตา-แคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ที่ชื่อ "เพคติน" .."เพคติน" นี้มีคุณสมบัติช่วยลดความอยากอาหาร ลดน้ำหนัก และลดโคเลสเตอรอล เพราะแอปเปิ้ลมีแป้งและน้ำตาลในรูปของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวถึง 75 % ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมน้ำตาลพิเศษชนิดนี้ได้รวดเร็ว และนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาที ดังนั้นความอยากอาหารจึงลดลง ทำให้คุณไม่รู้สึกหงุดหงิด หรือ อ่อนเพลีย แอปเปิ้ล 2-3 ผลต่อวัน ช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ เพราะแอปเปิ้ลมีเพคติน ซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ ผลจากการวิจัยชี้ว่า เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมัน และแยกโคเลส-เตอรอลออกมาเสร็จสิ้นแล้ว เพคตินจากแอป-เปิ้ลจะไปคอยดักจับโคเลสเตอรอลเหล่านั้น และพาไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าร่างกาย
  • บีทรูท ลดความดันโลหิต ฟอกไต ช่วยขับปัสสาวะ
  • เสาวรส ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค และป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินสูงช่วยบำรุงสายตา ทำให้ร่างกาย แข็งแรง บำรุงกระดูก เพราะมีแคลเซียมสูง
  • แครอท อุดมไปด้วยวิตามินเอ และเกลือแร่ วิตามินเอเอาไว้ใช้ ช่วยบำรุง สายตา บำรุงผิวและเนื้อเยื่อ ช่วยยับยั้งความเสื่อมของ อวัยวะสำคัญของร่างกาย มีความเชื่อว่า แครอทช่วยรักษาโรคมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรค เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง ต้อกระจก และยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน เร่งการสร้างเซลล์ในแผลผ่าติด นอกจากนี้ ยังอุดมด้วยวิตามินบี วิตามินซี และแคลเซียมที่ดูด ซึมง่าย มีแพคติน ซึ่งเป็นไฟเบอร์ ชนิดที่ละลายน้ำได้ ช่วยลดโคเลสเตอรอล วิตามินและเกลือแร่ที่มีอยู่ มีบทบาทสำคัญ ในการสร้างภูมิคุ้มกันโรค
  • สตรอเบอรี่ บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ มีวิตามินซี แมกนีเซียม โปเทสเซียมสูง ช่วยเพิ่มช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยต้านอนุมูลอสิระ ป้องกันโรคต่างๆ ช่วยเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
  • มะเขือเทศ อุดมด้วยวิตามินซี และอี มีสารไลโคทีน ช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิด
  • แตงกวาญี่ปุ่น มีวิตามินซีและเคสูง
  • มะตูม ผลมะตูมอ่อน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และช่วยขับและผายลม ผลมะตูมสุก รสหวาด แก้ลม แก้เสมหะ แก้มูกเลือด บำรุงไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ขับลม
  • ตะลิงปลิง รสเปรี้ยวจัด ช่วยเจริญอาหาร เลือดออกตามไรฟัน มีวิตามินซีสูง
  • ฝรั่ง ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ชะลอการลุกลามของมะเร็ง ช่วยทำให้แผลหายเร็ว ช่วยกระตุ้น การทำงานของเม็ดเลือดขาว และสร้างภูมิคุ้มกัน จึงสามารถป้องกันการเป็นหวัดได้
  • มะขาม มีวิตามินเอและซี นอกจากนั้น ยังมีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และเกลือแร่ชนิดต่างๆ ช่วยแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบายแก้ไอขับเสมหะ
   อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/ผลไม้

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คอมพิวเตอร์






คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย

คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์

มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์" คือเมื่อ ค.ศ. 1613 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่คาดการณ์ หรือคิดคำนวณ และมีความหมายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มา ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์นี้เริ่มมีใช้กับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่คิดคำนวณมากขึ้น[5]

ประเภทของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น
  1. การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี
  2. งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
  3. ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
  4. ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  5. ธุรกิจธนาคาร ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
  6. วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
  7. งานสถาปนิก ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ
  8. งานภาพยนตร์ การ์ตูน แอนิเมชัน ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์
  9. งานด้านสถิติ ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล
  10. ด้านนันทนาการ ช่วยให้ความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/คออมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อาหาร

                                   อาหาร